http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

มะเร็งเพิ่มหลังฉีดวัคซีนโควิดในญี่ปุ่น : กรณีศึกษาในไทย

มะเร็งเพิ่มหลังฉีดวัคซีนโควิดในญี่ปุ่น : กรณีศึกษาในไทย 

รายงาน จากคณะศึกษาที่ญี่ปุ่นในวารสาร Cereus เครือ Nature 2024 พบว่ามีอุบัติการณ์ของมะเร็งเพิ่มขึ้น ทุกชนิดจริง ทั้งนี้ รวมถึงมะเร็งรังไข่ มะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งริมฝีปากช่องปาก ลำคอและตับอ่อน จนกระทั่งถึงมะเร็งเต้านม

และมีความสัมพันธ์กับการฉีดวัคซีนโควิด โดยจำเป็นต้องให้ความสำคัญอย่างจริงจัง

และตามที่ คณะผู้รายงานตั้งข้อสังเกตว่า อาจเป็นอีกปัจจัยที่ทำให้มี การตายเพิ่มอย่างผิดปกติ (excess deaths) หรือไม่ แม้ว่าจะตัดสาเหตุอื่นๆออก แล้ว เช่น โควิด

โดยที่การตายเพิ่มขึ้นจากปกติ เป็นที่กังวลทั่วโลก ว่าเกิดจากอะไร กันแน่

ในประเทศไทยเองพบว่ามะเร็งในทุกอวัยวะเพิ่มขึ้นมหาศาลเทียบกับปีก่อนๆ
การรายงานของทางการในรหัสการตายด้วยมะเร็ง 20 ชนิด ตั้งแต่หลอดคอ หลอดลมและปอด ลำไส้ใหญ่ เต้านม ลำไส้ใหญ่ส่วนล่างติดกับทวารหนัก กระเพาะอาหาร ปากมดลูก ต่อมลูกหมาก กระเพาะปัสสาวะ สมอง ตับและท่อน้ำดี ริมฝีปาก ช่องปากและคอหอย ต่อมน้ำเหลือง หลอดอาหาร ตับอ่อน อวัยวะสืบพันธุ์หญิง อวัยวะย่อยอาหารอื่นๆ ระบบสร้างเม็ดเลือดและเนื้อเยื่อ เนื้องอกที่มิได้ระบุรายละเอียดและเกิดขึ้นหลายแห่ง

ทั้งนี้เปรียบเทียบ ตั้งแต่ปี 2561 จนกระทั่งถึงปี 2566 โดยพิจารณาเปอร์เซ็นต์เปลี่ยนแปลงการเสียชีวิตจากมะเร็งเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า


ระหว่างปี 2565 และปี 2566 มีเปอร์เซ็นต์เพิ่มการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงในมะเร็งทั้ง 20 ชนิดตามรหัสน่าจะมาจากปัจจัยหลายหลายอย่าง หรือจาก การฉีดวัคซีน โควิด อย่างถี่ๆ ดังที่เหมือนกับรายงานจากญี่ปุ่นทั้งประเทศ โดยที่พีเอ็ม 2.5 คงอธิบายอย่างเดียวไม่ได้

โครงสร้างที่ผิดเพี้ยนใน mRNA โควิดวัคซีน คือ จิ๊กซอว์ ที่สำคัญของ turbo cancer หรือมะเร็งเทอร์โบ

เหตุผลหนึ่งที่ mRNA โควิดวัคซีน ทำให้เกิดมะเร็งได้เพราะลำดับของสารพันธุกรรมในวัคซีนต่างจากในไวรัสจริง

ในวัคซีนจะมี G และ C nucleotide มากกว่าใน spike mRNA ของไวรัส โดยไวรัสมี GC นิวเคลียร์โอไทด์ 36% ขณะที่ Pfizer วัคซีน มี 53% และ Moderna vaccine มี 61% เหตุผลที่ mRNA โควิดวัคซีน ต้องมี GC มาก ก็เพราะต้องการให้ mRNA เสถียรมากขึ้น และเพิ่มประสิทธิภาพในการสร้างโปรตีนที่ต้องการนั่นก็คือ spike protein หรือโปรตีนหนามนั่นเอง

เมื่อพิจารณาจากหลักของ complimentary base pair จะเห็นว่าคู่เบสในสายเดียวกันสามารถจับกันเองได้ เกิดเป็นโครงสร้าง 3 มิติ ที่เรียกว่า G quadruplex (G4) ส่วนในไวรัสเป็น linear form ธรรมดา

G4 นี้จะสามารถเรียงตัวเป็น mini-tower หรือ เป็นชั้นๆ แบบตึก ซึ่งปกติในร่างกายของเราก็มีส่วนของพันธุกรรมที่เรียงตัวแบบ G4 เช่นกัน เช่น telomere, promoter region แต่ก็สามารถรักษาสมดุลย์ตามปกติไว้ได้

ความสำคัญของ G4 จากวัคซีนคือ มันไปจับกับสารพันธุกรรมต่างๆ ภายในเซลล์ได้เช่นเดียวกับ G4 ปกติของร่างกาย จึงทำให้สมดุลย์ของหน่วยพันธุกรรมภายในเซลล์เสียไป เช่น ไปจับกับ miRNA ที่มีหน้าที่ยับยั้งการแสดงออกของ mRNA ที่ทำให้เกิดมะเร็ง เมื่อ miRNA ที่เป็น เซฟตี้คัท ของร่างกายไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ หายนะก็บังเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นโรคหัวใจ โรคสมองเสื่อม โรคมะเร็ง ซึ่งเกิดจาก G4 จากวัคซีนไปรบกวนระบบสมดุลของ G4 ของร่างกาย

p53 ซึ่งเป็น tumor suppressor gene ยีนส์ที่ป้องกันไม่ให้เกิดมะเร็ง ที่สำคัญ ทำงานผ่านทาง p53 protein ก็ประสบชะตากรรมนี้เช่นกัน ในภาวะปกติ miRNA จะเป็นตัวควบคุมการสร้าง p53 protein แต่เมื่อ miRNA ถูกรบกวนจาก G4 ของวัคซีน ทำให้การสร้าง p53 protein มีความผิดปกติตามไปด้วย

ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่จะเห็นอุบัติการของโรคมะเร็งเพิ่มขึ้นมากในปัจจุบัน เพราะ mRNA โควิดวัคซีน สามารถก่อให้เกิดมะเร็งได้จากทั้งตัววัคซีนเอง และการกระตุ้นภูมิต้านทานซ้ำแล้วซ้ำเล่าจนเกิด T cell exhaustion จนไม่สามารถทำหน้าที่ป้องกันการเกิดเซลล์มะเร็ง

mRNA covid vaccine มี G4
Reference : https://osf.io/bcsa6/

บทความเรื่อง G4 in mRNA covid vaccine อยู่ช่วงหัวข้อ GC enrichment and potential G4 (pG4) structures in vaccine mRNAs :
https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S027869152200206X

บทความเกี่ยวกับ ความสำคัญของ T cell ถ้าอ่อนล้าไปหรือ exhaustion จะทำให้หน้าที่การตรวจตราป้องกันไม่ให้เกิดมะเร็ง (tumor surveillance) ผิดพลาดไป
https://www.pnas.org/doi/full/10.1073/pnas.0809818106
https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC1857231/

https://mgronline.com/qol/detail/9670000034512

Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 15/05/2024
สถิติผู้เข้าชม1,754,083
Page Views2,019,649
« May 2024»
SMTWTFS
   1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
view